สรุปผลการติดตามและประเมินผลการดำเนินโครงการ/กิจกรรมของ สค. ระดับพื้นที่
ครั้งที่ 1/2561
ระหว่างวันที่ 9 – 26 มกราคม 2561
……………………………………………………..
คณะทำงานติดตามและประเมินผลการดำเนินโครงการ/กิจกรรมของ สค. และผู้แทนจาก กองส่งเสริมสถาบันครอบครัว (กสค.) กองส่งเสริมความเสมอภาคระหว่างเพศ (กสพ.) กองคุ้มครองและพัฒนาอาชีพ (กคอ.) และกองยุทธศาสตร์และแผนงาน (กยผ.) รวมจำนวน 25 คน ได้ร่วมกันติดตามและประเมินผล การดำเนินโครงการ/กิจกรรมของ สค. ระดับพื้นที่ ครั้งที่ 1/2561 ในระหว่างวันที่ 9 – 26 มกราคม 2561 ในพื้นที่ 14 จังหวัด โดยจัด “การประชุมเพื่อนิเทศโครงการติดตามประเมินผลการดำเนินงานด้านสตรีและครอบครัวของ สค.” เพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจ แลกเปลี่ยนเรียนรู้ในการดำเนินโครงการสำคัญระดับพื้นที่ของ สค. โดยเฉพาะโครงการเงินอุดหนุน สค และสร้างสัมพันธภาพที่ดีระหว่าง สค. และเครือข่ายการทำงานระดับพื้นที่ โดยมีการแบ่งทีมงาน และพื้นที่ในการดำเนินงาน ดังนี้
- ทีมภาคใต้ ประกอบด้วย 1) นางพรสม เปาปราโมทย์ รองอธิบดีกรมกิจการสตรีและสถาบัน
ครอบครัว (รอง อสค.) 2) นางอ้อยทิพย์ โต๊ะหมัดและ นักพัฒนาสังคมชำนาญการพิเศษ (นพส.ชพ.) กสค. 3) นางสาวน้ำทิพย์ พวงระย้า นพส.ชพ. กคอ. 4) นายอัฐชัย ดุลยพัชร์ นักพัฒนาสังคมชำนาญการ (นพส.ชก.) กสพ. 5) นางสาวนิภา ภิรมย์รักษ์ นพส.ชก. กลุ่มเลขานุการนักบริหาร และ 6) นางสมบัติ ขจรสายวงษ์ นพส.ชก. กยผ. ดำเนินการในพื้นที่จังหวัดระนอง สุราษฎร์ธานี และพังงา ในระหว่างวันที่ 9-12 มกราคม 2561
- ทีมภาคเหนือ ประกอบด้วย 1) นางพรสม เปาปราโมทย์ รอง อสค. 2) นายสมรวย สุวรรณภักดีจิต
ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านครอบครัว 3) นางสาวพรมณี พุ่มอิ่ม นพส.ชพ. กสค. 4) นางสาวรัตนา โรหิตธรรมพร นพส.ชพ. กลุ่มพัฒนาระบบบริหาร 5) นางสาวสุชาดา รุ่งเรืองศักดิ์ นพส.ชก. กสพ. 6) นางสาวจิตรา อินทร์ทิม นักพัฒนาสังคมปฏิบัติการ (นพส.ปก.) กคอ. 7) นางสาววรารัตน์ พะวงรัมย์ นักพัฒนาสังคม กยผ. ดำเนินการในพื้นที่จังหวัดลำปาง และ สุโขทัย ในระหว่างวันที่ 16-19 มกราคม 2561 ทั้งนี้ นายชาลี สมมาตร ผู้อำนวยการศูนย์เรียนรู้การพัฒนาสตรีและครอบครัวภาคเหนือ จังหวัดลำปาง และทีมงานเข้าร่วมการนิเทศด้วย
- ทีมภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ประกอบด้วย 1) นางถิรวดี พุ่มนิคม รักษาการในตำแหน่งผู้เชี่ยวชาญ
เฉพาะด้านสตรี 2) นางนุจรี เต็มรุ่ง นพส.ชพ. กสพ. 3) นางอภิรดี สุสุทธิ นพส.ชพ. กคอ. 4) นางสาวศิริพร สันติกุลนพส.ชพ. กสค. 5) นางสาวศยามล ลัคณาสถิตย์ นพส.ชพ. กยผ. และ 6) นางสาวภิญญพัชญ์ ชมภูนุช นพส.ปก. กยผ.
ดำเนินการในพื้นที่จังหวัดชัยภูมิ และนครราชสีมา ในระหว่างวันที่ 15-17 มกราคม 2561
- ทีมภาคกลางฝั่งตะวันตก ประกอบด้วย 1) นางสาวกรรณนิกา เจริญลักษณ์ นพส.ชพ. กสพ.
2) นางปรีญา เฟื่องพิศิษฐ์ นพส.ชพ. กคอ. 3) นางสาวปวีณา จันทร์เดช นพส.ชก. กสค. และ 4)นางสาวชมนิศา วะระทุม นพส.ชก. กยผ. ดำเนินการในพื้นที่จังหวัดสมุทรสาคร เพชรบุรี และประจวบคีรีขันธ์ ในระหว่างวันที่ 17-19 มกราคม 2561
- ทีมภาคกลางฝั่งตะวันออก ประกอบด้วย 1) นางสาวราภรณ์ พงศ์พนิตานนท์ นพส.ชพ. กสค.
2) นายดำรงค์ ใจยศ นพส.ชพ. กสพ. 3) นางสาวศยามล ลัคณาสถิตย์ นพส.ชพ. กยผ. 4) นางสาวศลิษฏา เทียมกลาง นพส.ปก. กคอ. และ 5)นางสาวภิญญพัชญ์ ชมภูนุช นพส.ปก. กยผ. ดำเนินการในพื้นที่จังหวัดชลบุรี ระยอง นครนายก และปราจีนบุรี ในระหว่างวันที่ 24-26 มกราคม 2561 ทั้งนี้ นายชาญวุฒิ เมธีกุล ผู้อำนวนการ ศูนย์เรียนรู้การพัฒนาสตรีและครอบครัว เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพฯ 36 พรรษา จังหวัดชลบุรี เข้าร่วมการนิเทศด้วย
ทั้งนี้ เพื่อให้การดำเนินงานของทั้ง 5 ทีม เป็นไปในแนวทางเดียวกัน คณะทำงานติดตามฯ ได้ดำเนินการนำร่องโดยจัดให้มีการประชุมเพื่อนิเทศฯ ณ จังหวัดนนทบุรี เมื่อวันที่ 18 ธันวาคม 2560 โดยมี นางอ้อยทิพย์ โต๊ะหมัดและ นพส.ชพ กสค. เป็นหัวหน้าคณะนำผู้แทนของทุกทีม และทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เข้าร่วมงานดังกล่าว โดยมีนางนฤมล พงษ์สุภาพ ผู้อำนวยการศูนย์เรียนรู้การพัฒนาสตรีและครอบครัวภาคกลาง และทีมงานเข้าร่วมการนิเทศด้วย
กลุ่มเป้าหมาย
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วมกิจกรรมการประชุมฯ ทั้ง 15 ครั้ง รวมจำนวน 360 คน จำแนกเป็นผู้หญิง 264 คน และผู้ชาย 96 คน ประกอบด้วย
– ผู้แทนคณะทำงาน ศพค. จำนวน 231 คน
– ผู้แทนกลุ่ม/ชมรมสตรี จำนวน 50 คน
– ผู้แทนมูลนิธิ/สมาคม จำนวน 1 คน
– ผู้แทนหน่วยงานภาครัฐ จำนวน 7 คน
– เจ้าหน้าที่สำนักงาน พมจ. จำนวน 67 คน
– อื่น ๆ ได้แก่ – วิทยากรครอบครัว จำนวน 1 คน
– ที่ปรึกษาภาค ปชช. จำนวน 1 คน
– สภาเด็กและเยาวชน จำนวน 2 คน
สรุปสาระสำคัญของการประชุมฯ
สถานการณ์ปัญหาของจังหวัด
จากการเข้าพบพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พมจ.) หรือผู้แทนของทุกจังหวัดพื้นที่เป้าหมายของการติดตามประเมินผลฯ ในครั้งนี้ เพื่อสนทนาสถานการณ์ทางสังคม โดยเฉพาะด้านสตรีและครอบครัวของแต่ละจังหวัด พบว่า แต่ละจังหวัดมีปัญหาใกล้เคียงกัน กล่าวคือ
1) การกระทำความรุนแรงในครอบครัว : มีทุกจังหวัดแต่ไม่มาก อยู่ในระดับที่จัดการได้
ในระดับพื้นที่ ไม่รุนแรงถึงระดับขึ้นศาล สาเหตุส่วนใหญ่เกิดจากความเครียด และการดื่มสุรา
2) สัมพันธภาพในครอบครัว : กลุ่มเป้าหมายของ พม. ส่วนใหญ่มักจะมีฐานะยากจน เวลาส่วนใหญ่
จึงหมดไปกับการประกอบอาชีพ จึงไม่ค่อยมีเวลาอบรมเลี้ยงดูบุตรหลาน เด็ก ๆ จึงไปจับกลุ่มมั่วสุมกันเอง เกิดปัญหาเด็กแวนท์ ก้าวร้าว ติดเกมส์ และติดสื่อลามกอนาจารตามมา
3) การตั้งครรภ์ในวัยรุ่น : มีทุกจังหวัด และมีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้น โดยสังเกตจากการที่วัยรุ่น
มาลงทะเบียนขอรับเงินอุดหนุนเพื่อการเลี้ยงดูเด็กแรกเกิดเพิ่มขึ้น บางจังหวัด เช่น จังหวัดนครราชสีมา เด็กที่ตั้งครรภ์ และต้องออกจากโรงเรียนกลางคันในช่วง ม.1-3 บางคนมีปัญหายาเสพติด และจิตเวช ร่วมด้วย และ ส่วนใหญ่ทิ้งภาระการเลี้ยงลูกให้ผู้ปกครอง ปู่ย่าตายาย จนมีคำกล่าวว่า “เด็กน้อยเอากัน คนเฒ่าเลี้ยงลูก” สำหรับจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ซึ่งมีปัญหานี้อยู่ในลำดับต้น ๆ ของประเทศ ได้จัดทำเป็นยุทธศาสตร์จังหวัด และบูรณาการความร่วมมือจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อแก้ไขปัญหา ปัจจุบันมีพื้นที่ต้นแบบด้านการป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่นที่ อบต. เขาล้าน อำเภอทับสะแก โดยมีสภาเด็กและเยาวชนเป็นแกนหลัก
4) ครอบครัวลักษณะพิเศษ : ครอบครัวแหว่งกลางเป็นปัญหาที่พบในหลายจังหวัด และมีแนวโน้ม
เพิ่มมากขึ้น เช่น จังหวัดชัยภูมิ นครราชสีมา ปราจีนบุรี เป็นต้น
5) ยาเสพติด : เป็นปัญหาระดับชาติที่มีอยู่ในทุกจังหวัด และเป็นสาเหตุให้เกิดปัญหาอื่น ๆ
ตามมา เช่น การพนัน การมีแหล่งมั่วสุมในชุมชนเพิ่มมากขึ้น ประเด็นสำคัญที่ไม่สามารถจัดการปัญหานี้ได้คือ ครอบครัว/ผู้ปกครองไม่ให้ความร่วมมือ ไม่ยอมรับว่าบุตรหลานมีปัญหายาเสพติด และต้องดำเนินการเรื่องนี้อย่างระมัดระวัง เนื่องจากอาจได้รับอันตรายจากกลุ่มผู้มีอิทธิพล และผู้เสพ
6) การขยายตัวของเมืองใหญ่ : ก่อให้เกิดปัญหาต่าง ๆ ตามมา เช่น แรงงานต่างด้าว และ
ประชากรแฝงเพิ่มมากขึ้น ทำให้ยากต่อการติดตามในกรณีที่มีการก่อเหตุต่าง ๆ หรือปัญหาการฆ่าตัวตาย ทั้งคน ที่อยู่ในวัยทำงาน และวัยสูงอายุ เนื่องจากสภาพสังคมในปัจจุบันที่ทำให้คนเกิดภาวะเครียดได้ง่ายขึ้น โดยเฉพาะจังหวัดใหญ่ ๆ เช่น จังหวัดนครราชสีมา
ความก้าวหน้า และข้อสังเกตในการดำเนินงานด้านสตรีและครอบครัวที่ดำเนินการระดับพื้นที่
ด้านสตรี : สค. ขับเคลื่อนงานด้านสตรีในระดับพื้นที่ผ่านการดำเนินงานของสำนักงาน พมจ. จำนวน 4 โครงการ รวมงบประมาณจังหวัดละ 165,375 บาท ดังนี้
โครงการ/กิจกรรม และงบประมาณ | ความก้าวหน้า-ข้อสังเกต |
1. โครงการจัดงานเนื่องในวันสำคัญของสตรี
– กิจกรรมวันสตรีสากล งบประมาณ 20,000 บาท |
ความก้าวหน้า ส่วนใหญ่ : กำหนดจัดในช่วงวันสตรีสากล และบูรณาการร่วมกับหน่วยงานอื่น ๆ เช่น สำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัด องค์การบริหารส่วนจังหวัด เครือข่ายสตรีระดับจังหวัด เช่น กพสจ. หรือคณะกรรมการกองทุนพัฒนาบทบาทสตรี เป็นต้น |
2. โครงการเสริมพลังและพัฒนาศักยภาพสตรีให้มีส่วนร่วม
ในการพัฒนาประเทศ – กิจกรรมการประชุมคณะอนุกรรมการจัดประชุม สมัชชาสตรีระดับจังหวัด งบประมาณ 11,775 บาท – กิจกรรมการประชุมสมัชชาสตรีระดับจังหวัด งบประมาณ 20,000 บาท |
ความก้าวหน้า ส่วนใหญ่ : อยู่ระหว่างเตรียมการจัดประชุมคณะอนุกรรมการจัดสมัชชาสตรีระดับจังหวัด และมีการกำหนดวันจัดสมัชชาสตรีระดับจังหวัดเรียบร้อยแล้ว บางจังหวัดจะบูรณาการร่วมกับสมัชชาครอบครัว
ข้อสังเกตจากจังหวัดพังงา : – ประเด็นในการจัดสมัชชาสตรีมักจะเป็นปัญหา ที่ซ้ำ ๆ กันทุกปี – กระทรวง พม. ควรบูรณาการงานสสมัชชาของ ทุกหน่วยงานในกระทรวงฯ ให้เป็นงานเดียวกัน
|
3. โครงการสนับสนุนการดำเนินงานเพื่อพัฒนาสตรี
– เงินอุดหนุนเครือข่ายสตรี งบประมาณ 50,000 บาท |
ความก้าวหน้า ส่วนใหญ่ : อยู่ในระหว่างพิจารณา/กลั่นกรองโครงการ สำหรับจังหวัดปราจีนบุรี เครือข่ายสตรีจะนำเงินไปจัดงานวันสตรีไทยแต่อยู่ระหว่างการศึกษาระเบียบว่าดำเนินการได้หรือไม่
ข้อสังเกตจากจังหวัดพังงา : – เงินอุดหนุเครือข่ายสตรีน้อยเกินไปไม่เพียงพอ สำหรับการดำเนินกิจกรรมของเครือข่ายสตรี ในจังหวัด และไม่สามารถนำมาใช้ในการฝึกอบรม ด้านการประกอบอาชีพได้
|
4. กิจกรรมขับเคลื่อนงานด้านการป้องกันและแก้ไขปัญหา
การค้าประเวณี – ประชุมคณะกรรมการคุ้มครองและพัฒนาอาชีพ ประจำจังหวัด งบประมาณ 63,600 บาท |
ความก้าวหน้า ส่วนใหญ่ : อยู่ระหว่างเตรียมการจัดประชุมฯ
ข้อสังเกตจากจังหวัดระนอง : – งานด้านการป้องกันและแก้ไขปัญหาการค้าประเวณี และการค้ามนุษย์ทับซ้อนกันแยกแยะบทบาทได้ยาก |
ข้อสังเกต : มีความเห็นจากทุกจังหวัดที่ไปนิเทศว่า งานด้านสตรีในพื้นที่ไม่ค่อยมีการขับเคลื่อน รวมทั้งผู้บริหารระดับสูงทั้งในส่วนภูมิภาค และส่วนท้องถิ่น ตลอดจนประชาชนส่วนใหญ่ไม่เข้าใจเรื่อง “ความเสมอภาคหญิงชาย / ความเท่าเทียมระหว่างเพศ : Gender Equality) โดยส่วนใหญ่คิดว่า เป็นเรื่องของการเรียกร้องสิทธิของผู้หญิงให้เท่าเทียมกับผู้ชาย และไม่เห็นว่าผู้หญิงไทยจะมีปัญหาเรื่องนี้ เพราะผู้หญิง/แม่เป็นใหญ่ในครอบครัว
ด้านครอบครัว : การสนับสนุนงบประมาณด้านครอบครัวของ สค. ไม่เท่ากันทุกจังหวัด โดยจะสนับสนุนตามขนาดของจังหวัด/กิจกรรมที่ดำเนินการในแต่ละจังหวัด
โครงการ/กิจกรรม และงบประมาณ | ความก้าวหน้า-ข้อสังเกต |
1. โครงการขับเคลื่อนนโยบายและยุทธศาสตร์ครอบครัว
– กิจกรรมขับเคลื่อนกลไกการส่งเสริมและพัฒนา ครอบครัวระดับจังหวัด งบประมาณ 58,000 บาท
– กิจกรรมการจัดงานวันแห่งครอบครัวระดับจังหวัด งบประมาณจังหวัดละ 20,000 – 40,000 บาท
– กิจกรรมการจัดสมัชชาครอบครัวระดับจังหวัด งบประมาณจังหวัดละ 30,000 – 60,000 บาท – การประเมินสถานการณ์ความเข้มแข็งของครอบครัว งบประมาณจังหวัดละ 30,000 – 60,000 บาท |
ความก้าวหน้า ส่วนใหญ่ :
– อยู่ระหว่างเตรียมการจัดประชุมอนุกรรมการ ส่งเสริมและพัฒนาครอบครัวจังหวัด (อสค.จ.) – จังหวัดสมุทรสาคร เพชรบุรี อยู่ระหว่าง การแต่งตั้งคณะอนุกรรมการฯ – จังหวัดประจวบคีรีขันธ์จัดประชุมแล้ว 1 ครั้ง ข้อสังเกตจากจังหวัดพังงา : – องค์ประกอบของ กสค.จ. มีจำนวนมากเกินไป และต้องจัดประชุมปีละ 2 ครั้ง แต่ไม่ค่อยมี ประเด็นในการจัดทำวาระการประชุม ความก้าวหน้า ส่วนใหญ่ : – อยู่ระหว่างการคัดเลือกครอบครัวร่มเย็นและ บุคคลดีเด่นด้านการพัฒนาครอบครัว – กำหนดจัดในช่วงเดือนเมษายนโดยบูรณาการ ร่วมกับสมัชชาครอบครัว และวันผู้สูงอายุ ความก้าวหน้า ส่วนใหญ่ : อยู่ระหว่างเตรียมการ
ข้อสังเกตจากจังหวัดระนอง : – แบบสอบถามมาตรฐานครอบครัวเข้มแข็ง มีข้อคำถามมากเกินไป เข้าใจยาก – มาตรฐานครอบครัวเข้มแข็งตั้งไว้สูงเกินไป |
2. กิจกรรมหลัก : พัฒนากลไกการป้องกันและแก้ไขปัญหา
ความรุนแรงในครอบครัวระดับพื้นที่ – การจัดทำแผนป้องกันการกระทำความรุนแรง ในครอบครัว งบประมาณ ศปก.ต.ละ 100,000 บาท
|
จังหวัดที่ไปติดตามประเมินผลฯ ที่มี ศปกต. ได้แก่ จังหวัดชลบุรี (3 แห่ง) สุโขทัย (1 แห่ง) นครราชสีมา (1 แห่ง) และ สุราษฎร์ธานี (3 แห่ง)
– ไม่มีข้อมูล |
3. โครงการเสริมสร้างกระบวนการคุ้มครองสวัสดิภาพ
บุคคลในครอบครัว – กิจกรรมรณรงค์และประชาสัมพันธ์ลดความรุนแรง ในครอบครัว งบประมาณจังหวัดละ 35,000 -65,000 บาท |
ดำเนินการเรียบร้อยแล้วทุกจังหวัด |
4. โครงการเสริมสร้างความเข้มแข็งให้กลไก ศพค.
– กิจกรรมเสริมศักยภาพ ศพค. สนับสนุนเป็น งบดำเนินงานให้จังหวัดที่มี ศพค. ๆ ละ 1,000 บาท – กิจกรรมพัฒนาทีมวิทยากรด้านครอบครัวระดับ จังหวัด – กิจกรรมเงินอุดหนุน ศพค.ทั่วไป |
ดำเนินการเรียบร้อยแล้วทุกจังหวัด
ความก้าวหน้า ส่วนใหญ่ : อยู่ระหว่างเตรียมการ
ความก้าวหน้า ส่วนใหญ่ : อยู่ระหว่างการพิจารณากลั่นกรองโครงการ และรอกำหนดการประชุมของคณะกรรมการเพื่อพิจารณาอนุมัติโครงการ ยกเว้นจังหวัดพังงาอยู่ระหว่างการจ่ายเช็ค คาดว่าจะดำเนินกิจกรรมแล้วเสร็จภายในไตรมาสที่ 2 |
สถานการณ์ภาพรวมของ ศพค. :
1) มี ศพค. ที่ยังเคลื่อนไหวอยู่ประมาณร้อยละ 25 ของ ศพค. ที่ได้จัดตั้งขึ้น ?
2) การไม่มีงบประมาณสนับสนุนสำหรับ ศพค. ระดับดี และดีเด่น ทำให้มีแนวโน้มที่จะมี ศพค. ระดับดี
และดีเด่นลดลง เพราะไม่มีแรงจูงใจในการพัฒนาตนเองตามมาตรฐาน ศพค. และถ้าหากจะมีอีกในอนาครไม่ควรสนับสนุนเงินอุดหนุน ศพค.ดีเด่น แห่งละ 50,000 บาท เท่ากันทั้งพื้นที่เล็กและพื้นที่ใหญ่
3) กลุ่มเป้าหมายที่แท้จริงส่วนใหญ่ไม่ค่อยได้มาเข้าร่วมในการดำเนินกิจกรรมของ ศพค.
4) กิจกรรม “ค่ายครอบครัว” ของ ศพค. เมื่อดำเนินการครั้งแรก ๆ ส่งผลให้กลุ่มเป้าหมายมีพฤติกรรม
ที่เปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดี แต่เมื่อดำเนินกิจกรรมต่อเนื่องกันหลายปี กลุ่มเป้าหมายมีความรู้สึกเบื่อ และไม่มีกระตือรือร้นที่จะเข้าร่วมกิจกรรม
5) คำจำกัดความของเงินอุดหนุน สค. “เงินน้อย ขอยาก ใช้ยาก”
6) ศพค. ที่เข้มแข็งส่วนใหญ่ขอรับงบประมาณสนับสนุนสมทบจากหน่วยงานอื่น ๆ เช่น อปท. สสส.
สปสช. กองทุนสวัสดิการชุมชน ธกส. เป็นต้น เพื่อให้สามารถจัดกิจกรรมได้
7) ศพค. บางแห่งเห็นว่า คณะทำงาน ศพค. ควรร่วมกันระดมความคิดเห็นในการจัดทำโครงการเสนอ
ขอรับเงินอุดหนุน สค. มากกว่าการที่นักพัฒนาชุมชน อปท. ที่เป็นคณะทำงาน ศพค. จะเป็นผู้เขียนโครงการเพียงคนเดียว
8) ประชาชนส่วนใหญ่ยังไม่รู้จักว่า “ศพค.” มีบทบาทหน้าที่อย่างไร
ปัจจัยความสำเร็จในการดำเนินงาน ศพค.
1) การให้ความสำคัญ/ความสนใจต่องานด้านสังคมของผู้ว่าราชการจังหวัด
2) คุณลักษณะการบริหารงานของ พมจ. เช่น การบริหารผู้บังคับบัญชา/ผู้ใต้บังคับบัญชา การสร้างสัมพันธภาพกับภาคีเครือข่าย เป็นต้น
3) สัมพันธภาพระหว่างเจ้าหน้าที่ พมจ. กับภาคีเครือข่ายระดับพื้นที่ทั้งภาครัฐ และภาคประชาชน
4) การให้ความสำคัญ และความสนใจของผู้บริหาร และเจ้าหน้าที่ อปท. ที่มีต่องานด้านสตรีและครอบครัว
5) ความเข้มแข็งและการมีส่วนร่วมของเครือข่ายจิตอาสาในพื้นที่
6) โครงการ/กิจกรรมตรงกับสถานการณ์ปัญหา และความต้องการของคนในพื้นที่
7) โครงการ/กิจกรรมเกิดขึ้นจากการระดมความคิดเห็นของคณะทำงาน ศพค.
8) การผลักดันโครงการเข้าสู่ข้อบัญญัติของ อปท.
9) การมีกลไกขับเคลื่อนที่ชัดเจน เช่น ขับเคลื่อนโดยใช้มติของคณะกรมการจังหวัด คณะอนุกรรมการ
ส่งเสริมและพัฒนาครอบครัวจังหวัด (กสค.จ.) เป็นต้น
10) ความสัมพันธ์ส่วนตัวที่ดีของคณะทำงาน ศพค. และเครือข่ายจิตอาสากับกลุ่มเป้าหมาย เนื่องจาก
การทำงานด้านสังคมให้ประสบความสำเร็จต้องมีการพูดคุย ชวนมาเข้าร่วมกิจกรรม ดูแลให้ความช่วยเหลือ และติดตามผลเป็นระยะ ๆ เพื่อปรับความคิดของกลุ่มเป้าหมาย
ปัญหาอุปสรรคในการดำเนินงาน ศพค. และงานอื่น ๆ ของ สค.
1) นโยบายท้องถิ่นไม่ให้ความสำคัญกับเรื่องการพัฒนาคุณภาพชีวิต/งานด้านสังคม
2) การเปลี่ยนแปลงผู้บริหารและนโยบายของ อปท.ตลอดจนการเปลี่ยนเจ้าหน้าที่ อปท. ที่รับผิดชอบ
3) เจ้าหน้าที่ อปท. ที่รับผิดชอบการดำเนินงานของ ศพค. ไม่ให้ความสำคัญ/ความสนใจ และบางแห่ง ไม่มีเจ้าหน้าที่ อปท.สนับสนุนการดำเนินงาน
4) คณะทำงาน ศพค. ขาดความรู้ความเข้าใจในบทบาทหน้าที่ของตนผู้ที่ได้รับการพัฒนาศักยภาพส่วนใหญ่
มักจะเป็นประธาน ศพค. ส่วนคณะทำงานฯ ไม่ค่อยมีโอกาสเข้าร่วม เนื่องจาก สค. จำกัดจำนวนผู้เข้าร่วมกิจกรรม
5) คณะทำงาน ศพค. เขียนโครงการไม่เป็น และไม่ถนัดในการจัดทำรายงานผล
6) คณะทำงาน ศพค. หมดวาระหลายแห่ง อยู่ระหว่างการจัดทำคำสั่งแต่งตั้ง ศพค. ใหม่
7) ไม่มีระบบบัญชีทำให้ไม่สามารถจดทะเบียนเป็นองค์กรสาธารณประโยชน์ได้
8) งบประมาณที่ได้รับตามโครงการเงินอุดหนุน สค. มีไม่เพียงพอ ต้องประสานขอรับการสนับสนุน
เพิ่มเติมจาก อปท. หรือจัดกิจกรรมหาทุนเพิ่มเติม
9) อปท.บางแห่งไม่สามารถใช้งบประมาณสนับสนุนการดำเนินงานของ ศพค. ได้ทั้ง ๆ ที่มีงบประมาณ
เนื่องจาก สตง. ให้ความเห็นว่า อปท. ไม่มีอำนาจหน้าที่ในการดำเนินงานดังกล่าว และไม่มีระเบียบรองรับ
10) กรอบระยะเวลาในการคืนเงินตามโครงการเงินอุดหนุน สค. ที่กำหนดให้คืนภายใน 45 วัน ทำให้เป็น
ข้อจำกัดในการทำโครงการประเภทที่มีกิจกรรมต่อเนื่อง หรือมีการเว้นช่วงระยะเวลาในการดำเนินงานของแต่ละกิจกรรม
11) ระยะเวลาการดำเนินงาน ถ้าเป็นหลักสูตรต่อเนื่องหรือมีจำนวนวันมากเกินไปกระทบกับการประกอบอาชีพของผู้เข้าร่วมโครงการ และไม่มีกลุ่มเป้าหมายที่แท้จริงมาเข้าร่วมโครงการฯ
12) ประชาชนส่วนใหญ่ในพื้นที่ยังไม่เข้าใจคำเฉพาะที่ใช้ในการดำเนินงานด้านสังคม เช่น ครอบครัวแหว่งกลาง
ครอบครัวข้ามรุ่น ครอบครัวเพศเดียวกัน เป็นต้น ว่าหมายความว่าอย่างไร
14) การมีเด็กนอกพื้นที่มาเข้าร่วมกิจกรรมที่ทำในโรงเรียน ทำให้การติดตามประเมินผลยากลำบาก
เพราะเด็กอยู่ในพื้นที่ห่างไกล
15) กลุ่มเป้าหมายของโรงเรียนครอบครัวยังขาดครอบครัวแหว่งกลาง ซึ่งเป็นปัญหาใหญ่ของจังหวัด
16) ไม่สามารถหาข้อมูลกลุ่มเป้าหมายประเภทครอบครัวเตรียมจะสมรสหรือสมรสใหม่ได้
17) กลุ่มเป้าหมายประเภทครอบครัวที่มีสมาชิกพึ่งคลอดบุตรเข้าร่วมกิจกรรมไม่ได้เพราะต้องเลี้ยงดูบุตร
18) การแก้ไขปัญหาการกระทำความรุนแรงในครอบครัวต้องดำเนินการอย่างต่อเนื่อง ไม่สามารถ
ดำเนินการได้เสร็จสิ้นภายในวันเดียว แต่เจ้าหน้าที่ที่ทำงานด้านนี้มีน้อย ประกอบกับ เจ้าหน้าที่ที่มีบัตรประจำตัวพนักงานเจ้าหน้าที่ตาม พ.ร.บ. คุ้มครอบผู้ถูกกระทำด้วยความรุนแรงในครอบครัว พ.ศ. 2550 มีไม่เพียงพอ
19) ระบบ Violence ไม่เสถียร
20) กลุ่มอาชีพสตรีไม่มีตลาดรองรับ
ข้อเสนอแนะ
1) ควรมีมาตรการในการส่งเสริมความเข้มแข็งของ ศพค. ที่ชัดเจนและต่อเนื่อง
2) ควรจัดทำทะเบียน ศพค. ที่ยังคงเคลื่อนไหว
3) ควรสนับสนุนงบประมาณในการดำเนินกิจกรรมของ ศพค. อย่างต่อเนื่อง และเพียงพอ โดยเฉพาะ
ศพค. ที่ยังไม่เคยได้รับการสนับสนุนงบประมาณ
4) ควรสนับสนุนงบบริหารจัดการให้แก่ ศพค. เพื่อให้สามารถดำเนินการได้อย่างต่อเนื่อง และควรมี
ค่าตอบแทน/ค่าใช้สอยให้คณะทำงาน ศพค. เนื่องจากต้องใช้จ่ายเป็นค่าน้ำมันรถในการเดินทาง
5) ควรอบรมให้ความรู้เรื่องการเขียนโครงการให้คณะทำงาน ศพค. จักได้ไม่ต้องพึ่งพา อปท. มากเกินไป
6) ควรทำโครงการเป็นเมนูให้ ศพค. เลือก และควรจัดกิจกรรมย่อย ๆ ในพื้นที่บ่อย ๆ
7) ควรปรับรูปแบบรายงานผลให้เข้าใจง่าย และเข้าถึงทุกกลุ่มเป้าหมาย
8) สค./พมจ. ไม่มีเจ้าหน้าที่ที่ทำงานในชุมชน จึงควรใช้กลไก ศพค. ให้เกิดประโยชน์สูงสุด โดยผลักดัน
ให้สตรี (กพสม. กพสต.) เข้าไปร่วมมีบทบาทในการดำเนินงานของ ศพค. และเชื่อมนโยบายงานด้านสตรีและครอบครัวให้เสริมและเอื้อต่อกัน
9) ควรทำการประชาสัมพันธ์สร้างความรู้ความเข้าใจในบทบาทหน้าที่ของ ศพค. อย่างต่อเนื่อง
10) ควรส่งเสริมให้ อปท. เห็นความสำคัญ และเข้ามาช่วยดำเนินงาน
11) การโอนเงินสำหรับดำเนินกิจกรรมของ ศพค. ควรจ่ายในนามของ ศพค. เพื่อให้มีระบบบัญชีจักได้
สามารถพัฒนาไปจดทะเบียนเป็นองค์กรสาธารณประโยชน์ได้ (ปัจจุบันจ่ายในนามบุคคล)
12) การแต่งตั้งให้ ศพค. เป็นชมรม โดยนายก อปท. เป็นผู้ลงนาม ทำให้ อปท. สามารถสนับสนุน
การดำเนินงานของศพค.ได้โดยไม่ผิดระเบียบ
13) ควรมีวิทยากรครอบครัวให้ครบทุกจังหวัด และควรเป็นพี่เลี้ยงให้ทุกจังหวัดอย่างต่อเนื่อง
14) ควรบูรณาการงานครอบครัวในระดับจังหวัดกับกรมต่าง ๆ ใน พม. เช่น สภาเด็กและเยาวชน
15) ควรบูรณาการยุทธศาสตร์การพัฒนาสตรีและครอบครัวเข้าด้วยกัน
16) ควรสนับสนุนให้มีการจัดเก็บข้อมูลระดับพื้นที่เพื่อที่ชุมชนจะได้รับรู้ปัญหา/ความต้องการของชุมชน
17) ควรเพิ่มหลักสูตรการอยู่ในครอบครัวที่มีคนฆ่าตัวตายไว้ในโรงเรียนครอบครัวด้วย
18) ควรผลักดันให้เจ้าหน้าที่ศูนย์ปฏิบัติงานยุติความรุนแรงในครอบครัวที่ประจำอยู่ที่จังหวัด
เป็นพนักงานราชการ เพื่อเป็นการสร้างแรงจูงใจในการทำงาน
19) การดำเนินงานเรื่อง “มาตฐานครอบครัวเข้มแข็ง” ควรมีหนังสือแจ้งจังหวัดให้ดำเนินการล่วงหน้า
โดยไม่ต้องรอให้งบประมาณส่งถึงจังหวัด และควรอบรมให้ความรู้กับ จนท.ระดับพื้นที่ซึ่งเป็นผู้บันทึกแบบสอบถาม ให้มีความรู้ความเข้าใจเรื่องประเด็นคำถาม
20) การสร้างความยั่งยืนให้ดำเนินกิจกรรมด้านครอบครัวสามารถทำได้โดยการผลักดันให้บรรจุเป็น
ข้อบัญญัติท้องถิ่นประเภทการคลังได้ โดยให้นายก อปท. เป็นที่ปรึกษา และดำเนินการผ่านเวทีประชาคมให้
สภาท้องถิ่นเห็นชอบ
21) ควรฟื้นฟูโครงการจูงลูกจูงหลานเข้าวัดโดยบูรณาการร่วมกับกระทรวงวัฒนธรรม เนื่องจากเห็นว่า
เป็นโครงการที่สามารถขัดเกลาจิตใจและสร้างสัมพันธภาพที่ดีในครอบครัวได้
22) การแก้ไขปัญหาของวัยรุ่นที่ประสบความสำเร็จ คือ การสร้างเครือข่ายเพื่อนบอกเพื่อน เนื่องจาก
เด็กวัยรุ่นจะสื่อสารถึงกันได้อย่างเข้าใจมากกว่า เพราะเด็กมักจะไม่ปรึกษาปัญหากับพ่อแม่โดยเฉพาะเรื่องเพศ
23) ควรสร้างความรู้ความเข้าใจเรื่องความเท่าเทียมระหว่างเพศให้กับผู้บริหารระดับสูงของหน่วยงาน
ในส่วนภูมิภาค โดยเฉพาะ ผู้ว่าราชการจังหวัด นายอำเภอ และนายก อปท.
24) ควรมีคู่มือที่ใช้ภาษาที่เข้าใจง่ายเพื่อใช้ในการสื่อสารสร้างความรู้ความเข้าใจเรื่องความเท่าเทียม
ระหว่างเพศ ศพค. และงานอื่น ๆ ของ สค.
ประเด็นการนิเทศของทีมนิเทศ
1) การสร้างความรู้ความเข้าใจเรื่อง บทบาทหน้าที่ของ ศพค., โรงเรียนครอบครัว, การจดทะเบียนเป็นองค์กรสาธารณประโยชน์, มาตรฐานครอบครัวเข้มแข็ง, การประเมินศักยภาพตามระดับ ABC, การส่งเสริมสัมพันธภาพในครอบครัว, โครงการครอบครัวไทยใจอาสา, ความเสมอภาค/ความเท่าเทียมระหว่างเพศ, การใช้เงินอุดหนุน สค. เพื่อเพิ่มศักยภาพสตรี, การขอรับการสนับสนุนงบประมาณจาก สค. เพิ่มเติม, วิธีการใช้เงินเหลือจ่ายของ สค.
2) การบูรณาการโรงเรียนครอบครัวเข้ากับโรงเรียนผู้สูงอายุ
3) การจัดทำโครงการแบบชุดโครงการ โดยแบ่งเป็นกิจกรรมย่อย ๆ และเว้นระยะเวลาในการทำกิจกรรม
แต่ละกิจกรรม เพื่อแก้ไขปัญหาการไม่มีเวลาเข้าร่วมโครงการของกลุ่มเป้าหมาย
4) การสร้างและใช้เครือข่ายในการติดตามประเมินผลการดำเนินงาน เช่น ครูในโรงเรียน
5) การเชื่อมโยงงานด้านครอบครัวในระดับพื้นที่โดยนำ “คณะอนุกรรมการส่งเสริมและพัฒนา
ครอบครัวจังหวัด (กสค.จ.) มาเป็นกลไกในการเชื่อมโยงการสนับสนุนจากหน่วยงานอื่น
6) App ครอบครัว และ App หญิงไทย
7) การดำเนินงาน และหลักสูตรการฝึกอบรมของศูนย์เรียนรู้การพัฒนาสตรีและครอบครัว
ความพึงพอใจที่มีต่อการนิเทศ
คณะทำงานติดตามและประเมินผลโครงการ/กิจกรรมของกรมกิจการสตรีและสถาบันครอบครัว จัดการประชุมเพื่อนิเทศโครงการติดตามประเมินผลการดำเนินงานด้านสตรีและครอบครัวของ สค. ในระหว่างเดือนธันวาคม ๒๕๖๐ – มกราคม ๒๕๖๑ ณ จังหวัดที่ได้คัดเลือก จำนวน ๑๕ จังหวัด ได้แก่ นนทบุรี นครนายก ปราจีนบุรี ชลบุรี ระยอง สมุทรสาคร เพชรบุรี ประจวบคีรีขันธ์ ชัยภูมิ นครราชสีมา ลำปาง สุโขทัย พังงา ระนอง และสุราษฎร์ธานี เพื่อเป็นการนิเทศ แลกเปลี่ยนเรียนรู้ ให้คำปรึกษา และสร้างความรู้ความเข้าใจในการดำเนินงานแก่เครือข่ายในระดับพื้นที่ จัดขึ้นทั้งหมด ๑๕ ครั้ง ณ พื้นที่จังหวัดข้างต้น
การประชุมเพื่อนิเทศโครงการติดตามประเมินผลการดำเนินงานด้านสตรีและครอบครัวของ สค. มีผู้เข้าร่วมการประชุมฯ จำนวน ๓๖๐ คน (หญิง ๒๖๔ คน ชาย ๙๖ คน) จำแนกเป็นผู้แทน ศพค. (ทั้งในภาคประชาชน และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น) จำนวน ๒๓๑ คน ผู้แทนกลุ่ม/ชมรมสตรี จำนวน ๕๐ คน ผู้แทนมูลนิธิ/สมาคม จำนวน ๑ คน ผู้แทนหน่วยงานภาครัฐ จำนวน ๗ คน เจ้าหน้าที่สำนักงาน พมจ. จำนวน ๖๗ คน วิทยากรครอบครัว จำนวน ๑ คน ที่ปรึกษาภาคประชาชน จำนวน ๑ คน สภาเด็กและเยาวชน จำนวน ๒ คน ทั้งนี้ เจ้าหน้าที่จากศูนย์เรียนรู้การพัฒนาสตรีและครอบครัว จำนวน ๗ คน โดยมี นางสาวนฤมล พงษ์สุภาพผู้อำนวยการศูนย์เรียนรู้การพัฒนาสตรีและครอบครัวภาคกลาง จังหวัดนนทบุรี นายชาญวุฒิ เมธีกุล ผู้อำนวยการศูนย์เรียนรู้การพัฒนาสตรีและครอบครัวเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพฯ ๓๖ พรรษา จังหวัดชลบุรี และนายชาลี สมมาตร ผู้อำนวยการศูนย์เรียนรู้การพัฒนาสตรีและครอบครัวภาคเหนือ จังหวัดลำปาง เข้าร่วมการประชุมครั้งนี้ด้วย รายละเอียดปรากฎตามตารางที่ ๑
ตารางที่ ๑ จำนวนผู้เข้าร่วมการประชุม
ที่ | ผู้เข้าร่วมการประชุม | ผู้หญิง (คน) | ผู้ชาย (คน) | รวม (คน) | |||
จำนวน | ร้อยละ | จำนวน | ร้อยละ | จำนวน | ร้อยละ | ||
1 | ผู้แทนคณะทำงาน ศพค. | 153 | 42.50 | 78 | 21.667 | 231 | 64.17 |
2 | ผู้แทนกลุ่ม/ชมรมสตรี | 50 | 13.89 | – | – | 50 | 13.89 |
3 | ผู้แทนมูลนิธิ/สมาคม | 1 | 0.28 | – | – | 1 | 0.28 |
4 | ผู้แทนหน่วยงานภาครัฐ | 5 | 1.39 | 2 | 0.56 | 7 | 1.95 |
5 | เจ้าหน้าที่สำนักงาน พมจ. | 53 | 14.72 | 14 | 3.89 | 67 | 18.61 |
6 | อื่น ๆ ได้แก่ วิทยากรครอบครัว ที่ปรึกษาภาคประชาชน และสภาเด็กและเยาวชน | 2 | 0.56 | 2 | 0.56 | 4 | 1.12 |
รวมจำนวน | 264 | 73.34 | 96 | 26.67 | 360 | 100 |
การประเมินผลความพึงพอใจ ได้ประเมินความคิดเห็นจากผู้เข้าร่วมประชุมฯ จำนวน ๓๖๐ คน มีผู้ตอบแบบสอบถามกลับมา จำนวน ๒๔๘ คน คิดเป็นร้อยละ ๖๘.๘๙ ของกลุ่มเป้าหมายที่ จำแนกเป็นเพศหญิงร้อยละ ๗๓.๓๙ (๑๘๒ คน) เพศชายร้อยละ ๒๖.๖๑ (๖๖ คน) เป็นผู้แทน ศพค. (ทั้งในภาคประชาชน และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น) ร้อยละ ๗๔.๙๓ (๑๘๔ คน) ผู้แทนกลุ่ม/ชมรมสตรีร้อยละ ๑๖.๑๓ (๔๐ คน) ผู้แทนมูลนิธิ/สมาคมร้อยละ ๐.๔๐ (๑ คน) ผู้แทนหน่วยงานภาครัฐร้อยละ ๒.๔๒ (๖ คน) เจ้าหน้าที่สำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ร้อยละ ๕.๒๔ (๑๓ คน) และอื่นๆ (วิทยากรครอบครัว สภาเด็กและเยาวชน ที่ปรึกษาภาคประชาชน) ร้อยละ ๑.๖๑ (๔ คน) ซึ่งผลการประเมินความคิดเห็นพบว่าผู้เข้าร่วมประชุมร้อยละ ๗๙.๐๓ (๑๙๖ คน) มีความพอใจในระดับมาก จำแนกเป็นหญิงร้อยละ ๕๙.๖๘ (๑๔๘ คน) ชายร้อยละ ๑๙.๓๕ (๔๘ คน) และร้อยละ ๒๐.๙๗ (๕๒ คน) มีความพอใจในระดับปานกลาง จำแนกเป็นหญิงร้อยละ ๑๓.๗๑ (๓๔ คน) ชายร้อยละ ๗.๒๖ (๑๘ คน) รายละเอียดปรากฏตามตารางที่ ๒ ทั้งนี้ เหตุผลที่ผู้เข้าร่วมการประชุมฯ มีความพึงพอใจดังกล่าวนั้น ส่วนใหญ่ร้อยละ ๗๒.๙๘๙ (๑๘๑ คน) เห็นว่า เพราะได้มีโอกาสมาพบและแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับภาคีเครือข่ายที่ทำงานด้านสตรีและครอบครัวด้วยกัน และอีกเหตุผลหนึ่ง คือ การได้รับความรู้ความเข้าใจในเรื่องต่าง ๆ เพิ่มขึ้น โดย ๒ ลำดับแรกที่ผู้เข้าร่วมการประชุมได้รับเพิ่มขึ้น คือ แนวทางการขอรับเงินอุดหนุน สค. (ร้อยละ ๗๓.๓๙ หรือ ๑๘๒ คน) และแนวทางการเสริมสร้างความเข้มแข็งให้กับ ศพค. (ร้อยละ ๖๖.๙๖ หรือ ๑๖๖ คน) ส่วนรายละเอียดความรู้ความเข้าใจเรื่องอื่น ๆ ปรากฏตามตารางที่ ๓
ตารางที่ ๒ ความพึงพอใจที่มีต่อการนิเทศ
ระดับความพึงพอใจ | ผู้หญิง (คน) | ผู้ชาย (คน) | จำนวน | ร้อยละ | ||
จำนวน | ร้อยละ | จำนวน | ร้อยละ | |||
มาก | 148 | 59.68 | 48 | 19.35 | 196 | 79.03 |
ปานกลาง | 34 | 13.71 | 18 | 7.26 | 52 | 20.97 |
น้อย | – | – | – | – | – | – |
รวมจำนวน | 182 | 73.39 | 66 | 26.61 | 248 | 100 |
ตารางที่ ๓ ความรู้ความเข้าใจที่ได้รับจากการนิเทศ
ความรู้ความเข้าใจ | จำนวน | ร้อยละ |
แนวทางการขอรับเงินอุดหนุนกรมกิจการสตรีและสถาบันครอบครัว (สค.) | 182 | 73.39 |
แนวทางการเสริมสร้างความเข้มแข็งให้กับศูนย์พัฒนาครอบครัวในชุมชน (ศพค.) | 166 | 66.96 |
แนวทางการดำเนินงานอื่น ๆ ของ สค. เช่น คณะอนุกรรมการส่งเสริมและพัฒนาครอบครัวจังหวัด (กสค.จ.) คณะกรรมการคุ้มครองและพัฒนาอาชีพประจำจังหวัด (ก.ค.อ.) การจัดสมัชชาสตรี และสมัชชาครอบครัวระดับจังหวัด การเสริมสร้างความสัมพันธภาพในครอบครัว การป้องกันและแก้ไขปัญหาการกระทำความรุนแรงในครอบครัว การส่งเสริมความเสมอภาคระหว่างเพศ การพัฒนาและส่งเสริมอาชีพให้กับสตรีและครอบครัวที่เป็นกลุ่มเสี่ยงต่อปัญหาการค้าประเวณี เป็นต้น | 133 | 53.63 |
เรื่องแนวทางการดำเนินงานเรื่อง“โรงเรียนครอบครัว” | 128 | 51.62 |
สำหรับรูปแบบการประชุมครั้งต่อไป พบว่าผู้เข้าร่วมประชุมส่วนใหญ่ร้อยละ ๗๑.๑๑ (๑๗๘ คน) เห็นว่าควรมีการประชุมที่จังหวัดแบบการประชุมครั้งนี้ เพราะจะได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้กับคนอื่น ๆ ไปด้วยพร้อม ๆ กัน รองลงมาร้อยละ ๓๔.๒๗ (๘๕ คน) เห็นว่าควรลงพื้นที่ในชุมชน/หมู่บ้าน เพราะจะได้เห็นการดำเนินงานของเครือข่ายระดับพื้นที่ ส่วนรายละเอียดรูปแบบอื่น ๆ ปรากฏตามตารางที่ ๔
ตารางที่ ๔ รูปแบบการประชุมครั้งต่อไป
รูปแบบการประชุมครั้งต่อไป | จำนวน | ร้อยละ |
ประชุมที่จังหวัดแบบประชุมครั้งนี้ เพราะจะได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้กับคนอื่น ๆ ไปด้วยพร้อม ๆ กัน | 178 | 71.11 |
ลงพื้นที่ในชุมชน/หมู่บ้าน เพราะจะได้เห็นการดำเนินงานของเครือข่ายระดับพื้นที่ | 85 | 34.27 |
ประชุมที่จังหวัดแบบการประชุมครั้งนี้ แต่ควรมีการปรับเปลี่ยนผู้เข้าร่วมการประชุม เช่น มีการนำครอบครัวที่มีความเสี่ยงในเรื่องความรุนแรงในครอบครัว ยาเสพติด ผู้นำชุมชน และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งหมดเข้าร่วมประชุมด้วย เป็นต้น | 31 | 12.50 |
เห็นว่าควรจัดประชุมที่จังหวัดแบบการประชุมครั้งนี้ แต่ควรมีการปรับเปลี่ยนรูปแบบการประชุม เช่น ให้แต่ละ ศพค. นำเสนอผลงานของตน มีวิทยากรบรรยายให้ความรู้ความเข้าใจแก่ผู้เข้าร่วมประชุมมีความเข้าใจมากขึ้น เป็นต้น | 9 | 3.63 |
จัดประชุมที่จังหวัดแบบการประชุมครั้งนี้ แต่ควรมีการแจกเอกสารเพื่อให้ผู้เข้าร่วมประชุมมีความรู้ความเข้าใจมากขึ้น | 3 | 1.21 |
นอกจากนี้ผู้เข้าร่วมประชุมร้อยละ ๐.๘๑ (๒ คน) ได้เสนอให้มีการจัดกิจกรรมตลาดนัดวิชาการ “เปิดบ้านกรมกิจการสตรีและสถาบันครอบครัว” และมีการทำบันทึกข้อตกลง (MOU) ระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับเครือข่ายระดับพื้นที่
ส่วนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในการประชุมครั้งต่อไป จากแบบประเมินความคิดเห็น จำนวน ๒๔๘ ชุด มีผู้เข้าร่วมประชุมที่ตอบประเด็นในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในการประชุมครั้งต่อไป จำนวน ๑๐๕ คน คิดเป็นร้อยละ ๒๘.๖๙ ของผู้เข้าร่วมประชุมทั้งหมด โดยจำแนกเป็นประเด็นต่าง ๆ ดังที่ปรากฎตามตารางที่ ๕
ตารางที่ ๕ ประเด็นการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในการประชุมครั้งต่อไป
ประเด็น | จำนวน | ร้อยละ |
ด้านครอบครัว ได้แก่ โรงเรียนครอบครัว ความรุนแรงในครอบครัว | 56 | 53.33 |
ความเท่าเทียมระหว่างเพศ | 55 | 52.38 |
ภารกิจของ สค. | 50 | 47.62 |
การป้องกันและแก้ไขปัญหาการค้าประเวณี | 48 | 45.71 |
เรื่องกฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้องกับงานด้านสตรีและครอบครัว และผลงาน | 45 | 42.86 |
ภารกิจของศูนย์พัฒนาครอบครัวในชุมชน | ||
การป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ไม่พร้อม | 44 | 41.90 |
การส่งเสริมอาชีพแก่สตรีและครอบครัว ศูนย์เรียนรู้การพัฒนาสตรีและครอบครัว | 41 | 39.05 |
หน่วยงานภาครัฐต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ ช่องทางการติดต่อประสานงาน | 7 | 6.67 |
การป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด | 5 | 4.76 |
ซึ่งจากตารางที่ ๕ จะเห็นได้ว่า ผู้เข้าร่วมประชุมส่วนใหญ่ร้อยละ ๕๓.๓๓ (๕๖ คน) ให้ความสนใจ ด้านครอบครัว ได้แก่ โรงเรียนครอบครัว ความรุนแรงในครอบครัว รองลงมาร้อยละ ๕๒.๓๘ (๕๕ คน) ให้ความสนใจเรื่องความเท่าเทียมระหว่างเพศ และร้อยละ ๔๗.๖๒ (๕๐ คน) ให้ความสนใจเกี่ยวกับภารกิจของ สค.
————————————————–