กลุ่มสตรีที่ได้รับความรู้จากบรรพบุรุษจึงเกิดการเรียนรู้และปรับเปลี่ยนพัฒนาการปักแส่วมาเป็นรูปแบบใหม่ ๆ
ทำให้เสื้อปักแส่วและผืนผ้าปักแส่วได้รับความนิยมในหน่วยงานราชการรวมถึงประชาชนทั่วไป
การปักแส่วเป็นงานที่ละเอียด เป็นงานฝีมือต้องอาศัยทักษะการใส่ใจด้วยใจจริงจึงจะทาได้ ซึ่งใจต้องเย็นและมุ่งมั่น
ด้วยเหตุผลดังกล่าวนับวันจึงมีผู้สืบทอดน้อยลงเรื่อย ๆ อย่างต่อเนื่องโดยเฉพาะคนรุ่นใหม่ ซึ่งเป็นที่น่าเสียดาย
หากไม่มีผู้สืบทอดสืบสานงานศิลป์ด้วยการปักแส่ว ซึ่งเป็นนวัตวิถีอันทรงคุณค่าแต่ดั่งเดิมมายาวนาน
จากสภาพปัญหาดังกล่าวจึงมีความจาเป็นที่ต้องสืบสานรักษาศิลปะหัตถกรรมการปักแส่วอันเป็น อัตลักษณ์ของชนเผ่า
ศูนย์เรียนรู้การพัฒนาสตรีและครอบครัวภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จังหวัดศรีสะเกษ จึงได้สนับสนุน วัสดุ อุปกรณ์ และวิทยากร
ให้สตรีและบุคคลที่สนใจในการปักแส่ว ตามโครงการพัฒนาทักษะอาชีพกลุ่มเสี่ยงในสถาบัน เพื่อเป็นการรักษา “ภูมิปัญญา”
ของชุมชนควรอนุรักษ์ไว้เพื่ออนุชนรุ่นหลังสืบไป และทาให้กลุ่มสตรีมีอาชีพ มีงานทา เพิ่มรายได้ ลดการอพยพแรงงานไป
ทางานต่างถิ่น ซึ่งสอดคล้องกับวิสัยทัศน์ของกรมและวิสัยทัศน์ของศูนย์ฯ “สตรีและครอบครัวมั่นคง สังคมเสมอภาค”
ในการส่งเสริมสตรีและครอบครัว ให้มีงานทาลดความเหลื่อมล้าและทำให้ได้ผลิตภัณฑ์ที่ได้การยอมรับและเป็นที่รู้จักแก่คนทั่วไป
คลิกที่นี่ เพื่ออ่านคู่มือ